แบบหล่อคอนกรีต หล่ออะไรได้บ้าง ? พร้อมวิธีคำนวณน้ำหนักปูนแบบง่าย ๆ

การหล่อคอนกรีตให้มีรูปร่างและขนาดตามที่ต้องการ นับได้ว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของอาคารและบ้านพักอาศัยทุกประเภท เพราะฉะนั้นแล้ว การเลือกใช้แบบหล่อคอนกรีตและแบบเหล็กที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อประโยชน์ในการได้มาซึ่งคอนกรีตที่มีรูปร่างที่แน่นอน รวมถึงมีความสามารถในการรองรับน้ำหนักและรักษาความแข็งแรงของโครงสร้างได้อย่างแท้จริง

แบบหล่อคอนกรีตคืออะไร ?

แบบหล่อคอนกรีต (Concrete Formwork) คือ อุปกรณ์ก่อสร้างประเภทหนึ่งที่ถูกนำมาใช้งานเป็นโครงสร้างชั่วคราว เพื่อการช่วยรองรับน้ำหนักและควบคุมการหล่อคอนกรีตในระหว่างที่คอนกรีตยังไม่แข็งตัว เพื่อให้คอนกรีตดังกล่าวมีขนาดและรูปทรงที่เป็นไปตามที่ต้องการ โดยเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว แบบหล่อคอนกรีตจะถูกถอดออกเพื่อเผยให้เห็นถึงรูปทรงของโครงสร้างในรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งในปัจจุบันนี้ แบบหล่อคอนกรีตก็มีให้เลือกใช้งานด้วยกันหลายประเภทและหลายวัสดุ เพื่อการช่วยตอบโจทย์กับลักษณะของงานและความต้องการของโครงการก่อสร้างได้อย่างครอบคลุม

เจาะลึกประเภทของแบบหล่อคอนกรีต

แบบหล่อคอนกรีตสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามวัสดุที่ใช้และลักษณะการใช้งาน แต่โดยทั่วไปแล้ว แบบหล่อคอนกรีตที่นิยมนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายจะแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ แบบไม้ และ แบบเหล็ก เรามารู้จัก แบบหล่อคอนกรีตทั้ง 2 แบบกันค่ะ

  • แบบไม้ : เป็นแบบหล่อคอนกรีตที่มีการนำเอาไม้แปรรูปหรือไม้อัดที่มีลักษณะเป็นแผ่นมาใช้ประโยชน์ในการช่วยรองรับคอนกรีต โดยข้อดีของแบบไม้จะอยู่ที่ความยืดหยุ่นในการใช้งานที่สามารถปรับขนาดและรูปทรงได้ง่าย แต่แบบไม้เมื่อใช้แล้วต้องรื้อทิ้งไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทำให้อาจไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการใช้งานวนซ้ำหลายๆรอบ หากต้องการใช้งานวนซ้ำและใช้ได้นาน การใช้แบบไม้จะสิ้นเปลืองมาก เนื่องจากต้องจ่ายค่าแบบไม้ทุก ๆ ครั้งที่ต้องการหล่อคอนกรีตในขนาดเดิม ๆ และในรูปแบบเดิม ๆ
  • แบบเหล็ก : เป็นแบบหล่อคอนกรีตที่ทำมาจากเหล็ก จึงทำให้มีความแข็งแรง ทนทาน เหมาะที่สุดสำหรับงานก่อสร้าง อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง ซึ่งจะช่วยทำให้สามารถลดต้นทุนได้ในระยะยาว แบบเหล็กจะมีหลากหลายความหนา ต้องเลือกให้เหมาะกับลักษณะงานที่จะนำไปใช้หล่อคอนกรีต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาคอนกรีตที่ต้องเท หากคอนกรีตหนาต้องใช้แบบเหล็กที่มีความหนาพิเศษ เช่นอาคารใหญ่ งานสะพาน งานเขื่อน งานอุโมงค์ เป็นต้น หรือหากคอนกรีตที่ต้องการหล่อไม่หนามากเกินไป เราสามารถใช้แบบเหล็กที่บางลงได้ เช่น งานก่อสร้างบ้าน อาคารเล็ก งานที่มีโครงสร้างไม่ใหญ่ มากกว่านั้นเมื่อเราไม่ต้องการใช้แบบเหล็กแล้ว ยังสามารถจำหน่ายเป็นสินค้ามือสองต่อได้ หรือสามารถนำไปชั่งเป็นเศษเหล็กได้เงินกลับมาในกระเป๋าเราได้อีกทาง ดังนั้นการใช้แบบเหล็ก น่าจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากที่สุดและดีที่สุดให้กับผู้รับเหมาแล้ว

วันนี้เราจะพาไปเจาะลึก และ ทำความรู้จักกับแบบหล่อเหล็ก (Steel Formwork) ให้มากขึ้นกว่าเดิมไปดูกัน

แบบเหล็ก แบบหล่อคอนกรีต (Steel Formwork) สามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งานดังนี้

  1. แบบเหล็กเสา (Column Formwork)
    แบบหล่อคอนกรีตที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับหล่อเสาคอนกรีต มักประกอบด้วยแผ่นเหล็กที่ถูกเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมหรือทรงกระบอก มีความสูงแตกต่างกันตามแบบที่ต้องการใช้งาน
  2. แบบเหล็กผนัง (Wall Formwork)
    แบบหล่อคอนกรีตสำหรับผนังจะถูกใช้ในการก่อสร้างผนังคอนกรีต มักจะเป็นแผ่นเหล็กขนาดใหญ่ มีความหนา ความทนทาน ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้ใช้หล่อผนังที่มีความใหญ่และคอนกรีตที่ค่อนข้างหนาพิเศษ
  3. แบบเหล็กพื้น (Slab Formwork)
    แบบหล่อคอนกรีต สำหรับพื้นมักจะประกอบด้วยแผ่นเหล็กขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับน้ำหนักคอนกรีตในงานหล่อพื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบนี้จะใช้ตัวค้ำและโครงสร้างเหล็กเพิ่มเติมเพื่อรองรับน้ำหนักของคอนกรีตที่เทลงมา
  4. แบบเหล็กสำเร็จรูป (Pre-fabricated Steel Formwork)
    แบบหล่อคอนกรีตที่ถูกนำมาประกอบและหล่อคอนกรีตในโรงงานหรือหล่อที่หน้างาน แล้วนำชิ้นงานไปติดตั้งที่สถานที่ก่อสร้าง แบบเหล็กประเภทนี้มักใช้ในงานที่มีการออกแบบซ้ำ ๆ และต้องมีชิ้นงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
  5. แบบเหล็กสำหรับงานพิเศษ (Custom Steel Formwork)
    สำหรับโครงการก่อสร้างที่มีความซับซ้อนหรือรูปทรงพิเศษ จะมีการออกแบบแบบหล่อเหล็กเฉพาะขึ้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการของงาน เช่น งานโครงสร้างโค้งหรือรูปทรงเรขาคณิตที่ไม่มาตรฐาน
  6. แบบเหล็กสำหรับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ (Heavy-duty Steel Formwork)
    ใช้สำหรับงานก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น สะพาน หรือเขื่อน ที่ต้องรองรับน้ำหนักจำนวนมากและต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ แบบหล่อประเภทนี้มักมีการใช้ระบบค้ำยันและโครงเหล็กที่แข็งแรง

ความสำคัญของแบบหล่อคอนกรีตในงานก่อสร้าง

แบบหล่อคอนกรีตเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการก่อสร้างทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เนื่องจากแบบหล่อคอนกรีตถูกออกแบบขึ้นมาให้มีคุณสมบัติในการใช้งานที่สามารถตอบโจทย์ ให้กับงานโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

  • การสร้างรูปร่างที่ต้องการ : โดยการใช้งานแบบหล่อคอนกรีตจะช่วยให้รูปร่างของคอนกรีตถูกสร้างขึ้นมาตามรูปแบบและขนาดที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ โดยไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างที่มีความซับซ้อนหรือมีขนาดใหญ่ การใช้งานแบบหล่อคอนกรีตก็สามารถช่วยให้ทุกงานโครงสร้างเป็นไปตามแบบที่ออกแบบเอาไว้ได้อย่างแท้จริง
  • การรักษาความแข็งแรงของคอนกรีต : ในระหว่างที่คอนกรีตยังไม่แข็งตัว แบบหล่อคอนกรีตจะช่วยรองรับน้ำหนักของคอนกรีตที่เป็นของเหลว ร่วมกับการช่วยป้องกันการเคลื่อนที่ของคอนกรีตและการแตกร้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การช่วยให้โครงสร้างที่ได้มีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น
  • ลดเวลาการก่อสร้าง : การใช้งานแบบหล่อคอนกรีตที่เป็นแบบเหล็ก สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ไม่เพียงสามารถช่วยลดเวลาในการสร้างแบบหล่อใหม่ทุกครั้ง แต่ยังช่วยให้การทำงานเป็นระบบระเบียบมากขึ้นจนสามารถช่วยลดเวลาในการก่อสร้างลงได้
การใช้งานแบบหล่อคอนกรีต

ไขข้อสงสัย แบบหล่อคอนกรีตหล่ออะไรได้บ้าง?

แบบหล่อคอนกรีตสามารถนำมาใช้หล่อคอนกรีตได้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการของโครงการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการหล่อพื้นและผนังของอาคาร เพื่อช่วยให้คอนกรีตที่หล่อออกมานั้นมีความแข็งแรงและสามารถรองรับน้ำหนักได้ตามที่กำหนด รวมไปถึงการหล่อเสาและคาน เพื่อช่วยให้การสร้างเสาและคานมีรูปทรงที่ถูกต้องและมีความแข็งแรงตามที่ต้องการ นอกจากนี้ แบบหล่อคอนกรีตยังสามารถนำมาใช้ในการหล่อโครงสร้างพิเศษ อาทิ  สะพาน ราวสะพาน หรือโครงสร้างที่มีรูปทรงเฉพาะ เพื่อให้ได้โครงสร้างที่ตรงตามแบบและมีความแม่นยำสูงสุด

วิธีคำนวณน้ำหนักปูนแบบง่าย ๆ สำหรับการใช้งานแบบหล่อคอนกรีตในเบื้องต้น

ขั้นตอนแรกในการคำนวณน้ำหนักปูน คือ การกำหนดปริมาตรของคอนกรีตที่ต้องการจะใช้สำหรับการเทลงในแบบหล่อคอนกรีต ซึ่งแบบหล่อแต่ละประเภทก็จะใช้หลักการคำนวณปริมาตรพื้นฐานที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • การคำนวณน้ำหนักปูนสำหรับการเทพื้น
    ปริมาณที่ต้องใช้ (คิว) = พื้นที่ (ตารางเมตร) x ความหนา (เซนติเมตร) x 0.01
  • การคำนวณน้ำหนักปูนสำหรับการเทคาน
    ปริมาณที่ต้องใช้ (คิว) = พื้นที่หน้าตัดของคาน (ตารางเซนติเมตร) x ความยาวรวมคานทั้งหมด (เมตร) x 0.0001
  • การคำนวณน้ำหนักปูนสำหรับการเทเสา
    ปริมาณที่ต้องใช้ (คิว) = พื้นที่หน้าตัดของเสา (ตารางเซนติเมตร) x ความสูงเสา (เมตร) x 0.0001 x จำนวนเสา
คำนวณน้ำหนักปูนเพื่อใช้งานแบบหล่อคอนกรีต

จะเห็นได้ว่า แบบหล่อคอนกรีตเป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในกระบวนการก่อสร้าง เพราะฉะนั้นแล้วการเลือกแบบหล่อคอนกรีตที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้คอนกรีตสามารถคงรูปทรงและความแข็งแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ โดยสำหรับผู้ที่กำลังมองหาแบบเหล็ก แบบหล่อคอนกรีต มาใช้งาน หจก.เค.เจ.เวียงทอง คือ โรงงานผลิตแบบเหล็ก แบบเหล็กคาน แบบเหล็กหล่อคอนกรีต แบบเหล็กเสากลม แบบเหล็กเทถนน แบบถนน แบบเหล็กหล่อcurb แบบคันหิน แบบแบริเออร์ แบบเหล็กแผ่นฟิน แบบparapet แบบเสาสะพาน แบบคานสะพาน แบบราวสะพาน แบบเหล็กสั่งทำตามแบบ ตลอดจนบริการตัด พับ ม้วนเหล็ก งานเหล็กทุกชนิด ที่สามารถสั่งผลิตสินค้าได้ตามแบบและสามารถไว้วางใจถึงประสบการณ์ในอุตสาหกรรมแบบเหล็กหล่อ แบบหล่อคอนกรีต เปิดมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงวันนี้ เรามีลูกค้ามากมายทั่วประเทศ ให้ความมั่นใจใช้บริการตลอดมา

สนใจสินค้าหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

LineID : @kj1615
Tel : 089-8977284, 086-3135913, 02-4901616, 02-4901733
Facebook : facebook.com/kj1615